วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ฮวงจุ้ยดี ก็สวยได้

สำหรับมุมมองของผมแล้วการดูฮวงจุ้ยนั้นเป็นทั้ง "ศาสตร์และศิลป์" ครับ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าหลักการของฮวงจุ้ยนั้นคือการ "คำนวณ" ด้วยหลักวิชาการชั้นสูงว่าพลังงานที่ดี และเข้ากับดวงชะตาผู้อยู่มาจากทิศทางใด และจะจัดวางสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมอย่างไร เพื่อดึงเอากระแสหลังงานธรรมชาติหรือกระแสพลังงานที่เราสร้างขี้นมาใหม่ เพื่อทำให้ทิศดีนั้งส่งผลอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ดังนั้นเวลาที่เราได้ดูบ้านของผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่านจัดฮวงจุ้ยแล้วออกมาไม่สวยในสายตาของเรานั้น ก็เป็นเพราะมุมมองของซินแสนั้นต่างกันทั้งในเรื่งอของประสบการณ์ ธรรมเนียม ศิลปวัฒนธรรม แท้จริงแล้วการจัดฮวงจุ้ยที่ดียังต้องสามารถประยุกต์ให้เข้ากับผู้อยู่อาศัยและสถาปัตยกรรมได้อย่างไม่ขัดเขินด้วย เรียกว่า "ฮวงจุ้ยดี ก็สวยได้" โดยผมขอแนะนำบ้านของ "คุณติ๊ก" นักออกแบบตกแต่งภายใน จากเนื้อดวงนั้นมี "ธาตุน้ำ" เป็นธาตุปรับดวง ดังนั้นหลักการแรกของการเลือกทิศทางของทิศบ้านนั้นจะเลือกให้ทิศหลังพิงเป็น "ทิศเหนือ" เพราะมีพลังงานแบบ "ธาตุน้ำ" สะสมตัวอยู๋ ขณะเดียวกัน "ทิศใต้" ที่หน้าบ้านหันไปนั้นก็ยังเป็น "ทิศโชคลาภ" ประจำยุคที่ 8 ( พ.ศ. 2547-2567 ) และก็ยังมีการเพิ่มสระว่ายน้ำ ที่สามารถมองเห็นได้ทั้งจาก ห้องนั่งเล่น ห้องนอน และห้องทำงานเพื่อเป็นการเสริมดวง ผนวกร่วมเข้ากับการวางตำแหน่งตรงกับทิศโชคของบ้าน เป็นตัวช่วยเร่งให้ได้รับผลดีจากทิศทางให้รวดเร็วยิ่งขี้นครับ

เพื่อให้เป็นการไหลเวียนของพลังงานทำได้สะดวกนั้น ผมได้แนะนำให้ทางสถาปนิกออกแบบทางเดินภายในให้มีลักษณะเป็นทางเดินตรงและยาว ไม่คดเคี้ยว เพื่อให้จ่ายกระแสได้สะดวกและราบรื่น หากทางเดินภายในนั้นมีลักษณะดังกล่าวจะถือว่าเป็นมงคลเพราะจะจ่ายพลังเข้าไปยังส่วนต่างๆของบ้านได้อย่างทั่วถึง และต้องไม่ลืมด้วยว่าเจ้าของบ้านนั้นชอบ "ธาตุน้ำ" ดั้งนั้นในมุมที่เข้าของบ้านจะนั่งนอนบ่อยๆ หรือจุดพักสายตาของโถงทางเดิน ก็ยังเน้นการตกแต่งด้วย "สีเทาและสีดำ" ซึ่งถือเป็นสีของ ธาตูน้ำ เพื่อเสริมดวงได้ด้วย

ติดตามตอนต่อไปค่ะ

ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

หลังคาเมทัลชีท

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ซ่อมผนังร้าวด้วยสีเท็กซ์เจอร์

ปัญหาแตกร้าวเป็นของ "คู่กรรม" ของผนังอิฐฉาบปูน ถ้าเกิดจากปัญหาโครงสร้าง ควรให้มืออาชีพรีบมาตรวจสอบแก้ไขแต่เนิ่นๆ ไม่ควรปล่อยไว้นาน เพราะอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆเช่น การรั่วซึมได้ แต่ถ้าเป็นรอยร้าวเล็กๆน้อยๆ หรือการแตกลายงาบนผนัง คนธรรมดาอย่างเราๆ ก็พอจะซ่อมแซมกันเองได้ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สีเท็กซ์เจอร์ที่ใช้ทาทับรอยร้าวได้ โดยไม่ต้องเรียกช่างมาสกัดผนังและฉาบปูนให้ยุ่งยาก

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็น
- แปรงพลาสติก
- เกรียงโป๊
- สีเท็กซ์เจอร์และลูกกลิ้ง ( มีให้เลือกทั้งชนิดหยาบและละเอียดตามความต้องการ)
- ภาชนะหรือถาดสำหรับใช้ผสมสี
- สีน้ำพลาสติก ( เลอกเฉดสีตามความชอบส่วนตัว )

ขั้นตอนการทำงาน

1 ใช้แปรงพลาสติกขัดล้างทำความสะอาดพื้นผนังที่จะตกแต่งด้วยสีเท็กซ์เจอร์เสียก่อน กรณีผนังเดิมผ่านการทำสีมาแล้วให้ใช้เกรียงโป๊ขูดลองสีเก่าออกให้หมดจากนั้นทาสีรองพื้น 1-2 เที่ยว เพื่อป้องกันความชื้นและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะระหว่างพื้นผิวได้ดียิ่งขี้น แล้วปล่อยให้ผนังแห้งสนิท

2 ใช้ลูกกลิ้งจุ่มสีเท็กซ์เจอร์ชนิดหยาบหรือละเอียดในภาชนะแล้วกลิ้งไปบนพื้นผนังช้าๆ ทีละ 30-40 เซนติเมตร หรือประมาณหนึ่งรอบของลูกกลิ้ง

3 เมื่อทาได้พื้นที่หนึ่งตารางเมตรแล้ว ให้กลิ้งลูกกลิ้งทับอีกรอบหนึ่ง โดยกลิ้งไปในทิศทางเดียวกัน และคอยระวังให้รอยต่อของสีเรียบสม่ำเสมอกัน ในกรณีที่ต้องการตกแต่งลวดลายที่ต่างไปจากลูกกลิ้ง อาจใช้เกรียงหรืออุปกรณ์อื่นๆช่วยทำลวดลายได้ตามใจชอบในทันทีที่ฉาบสีเท็กซ์เจอร์แล้ว

4 ผิวเท็กซ์เจอร์ที่ปรากฏขี้นอาจบางหรือหนา สั้นหรือยาวบ้าง ขี้นอยู่กับน้ำหนักมือที่เรากลิ้งเนื้อสีไปที่ผนังนั่นเองและเมื่อปล่อยให้ผนังแห้งพอประมาณ (3 ชั่วโมง) แล้ว ให้นำเฉดสีที่ต้องการมาทาทับหน้าอีกครั้ง เพื่อความสวยงาม และสามารถใช้งานได้หลังจากผ่านไปแล้ว 24 ชั่วโมง

หมายเหตุ : การทำพื้นผิวในลักษณะนี้อาจทำให้ผนังห้องมีการสะสมฝุ่นมากกว่าปกติ ดังนั้นเราจึงต้องหมั่นดูและรักษาอย่างสม่ำเสมอ

Tips

สีเท็กซ์เจอร์ เป็นสีที่มีส่วนผสมของเกล็ดหินอ่อนเพื่อให้มีพื้นผิวที่ขรุขระสามารถฉาบกับรอยร้าวและพิ้นผิวที่ไม่เรียบได้ดี และช่วยปกปิดรอยต่อของแผ่นฝ้าเพดานได้มิดชิด เหมาะสำหรับงานตกแต่งพื้นผิวทั้งภายในแล ภายนอกอาคาร มีให้เลือกใช้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ ชนิดละเอียด (Fine) ซึ่งออกแบบมาสำหรับงานที่ต้องการสร้างลายแบบละอียดหรือดูเหมือนเม็ดทรายและชนิดหยาบ (Coarse) มีเนื้อสีที่หยาบและขรุขระ ให้ลายที่ชัดเจน ใช้ได้กับผนังคอนกรึต งานอิฐ ไม้ ฯลฯ

ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ประตูม้วน